วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 8

ระบบ          มวล       พลังงาน
เปิด             Yes           Yes
ปิด               No           Yes
แยกตัว         No           No
(เอกเทศ)

Rateไปข้างหน้า = Rate ย้อนกลับน่ะ
(ถึงจะสมดุล)

กราฟ ตอนที่เขียน ช่วงที่ unstable สารตั้งต้น กับ ผลผลิต ต้องลงหรือขึ้น ทีละเท่ากันฯ

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 7

วันนี้อาจารย์ก็ให้เราทำแบบฝึกหัดเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยา ข้อ 13-14 (ทำ12-13แทน อิอิ)

กลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้พวกเราทำแลป เปรียบเทียบสารที่มีคะตาลิส กะ ไม่มีคะตะลิส ว่าอันไหนทำปฏิกิริยาเร็วกว่ากัน

ก็เอา สาร 1 ใส่ไป 2 ML และ สาร 2 ใส่ไป 1 ML ทั้งสองหลอด
(หลอดหยดสาร 10 หยด เท่ากับ 1 ML)
แล้วเอาหลอดที่ 1 ไปใส่กับสารที่ทำปฏิกิริยา แล้วจับเวลา (ต้องเขย่าด้วยเพื่อกระตุ้นให้เกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

หลอดที่ 2ทำเหมือนหลอดที่ 1แล้วใส่คะตาลิสเพิ่มอีก 5 หยด แล้วจับเวลา (เขย่าเช่นกัน)

จะเห็นผลว่า คะตะลิสมีผลในการช่วยทำปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้น


ผมเผลอเอา คะตะลิส ผสมกับ สารที่ทำปฏิกิริยาก่อน จึงกลายเป็นสีส้ม (มันทำไปแล้ว =*=)
แล้วค่อยไปเทลงในหลอด 2  =*=

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 6

อ.สอนเคมีตามกฎของ GuldBerg และ Waage

วิธีการทำ มันจะให้ตารางมา แล้ว สมการมา
ให้ดูสมการทันทีเลยว่าดุลยัง

ตารางที่ให้มาจะเป็นผลการทดลงอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ทดลองหลายครั้งแล้วเราต้องนำมาคำนวณ
R=(a)กำลังเลขดุลสมการข้างหน้าของสาร......

สังเกตุ อัตราการเริ่มต้นของการเกิดให้ดูเลขดุลข้างหน้า
a + b -> d + 3D
ถ้าเป็น d ก็ไม่ต้องทำอะไรใช้ที่เขากำหนดได้เลย แต่ถ้าเป็น 3D ต้องเอาไปหาร 3 ก่อน ถึงจะใช้ได้

ดูตารางแล้วเอามาแก้ระบบสมการ โดยเอาการทดลอง 1 เป็น 1สมการ กับอีกการทดลอง อีกสมการ
จากสูตร R (ที่กล่าวไป) แล้วนำมาแก้หาในสิ่งที่โจทย์ถาม

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 5

วันนี้โดนอาจารย์เทศนา


-ขี้เกียจเป็นปัจจัยหลักประจำ Gifted 160
-ความแตกต่างระหว่างการศึกษาธรรมดา และ การศึกษาแบบGifted


และ

ก็ทวนเรื่องการทดลองที่ผ่านมา(เคมี อ.วศวิศว์ 4)ว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วก็เอาเรื่องเก่าฯมาเชื่อมโยงกับการทดลองด้วย

เคมี อ.วศวิศว์ 4

วันนี้อาจารย์ให้ทำการทดลองว่า จะดูว่าสารในมีความเข้มข้นมากกว่ากัน
โดยอาจารย์ให้ไตเตรตสาร HCL NaSo4
และ
ให้เอาสารที่อาจารย์เตรียมให้ 4 อย่างโดยเราไม่รุ้ว่าอันไหนความเข้มข้นเยอะสุด

วิธีก็เอาสาร 1 ไตเตรตให้ได้ถึงขีด 10 ML
แล้วก็เทลงบีกเกอร์ แล้วก็นำไปผสมกับสาร 1.1 จับเวลาจนกว่าจะเกิดการตกตะกอนแล้วบันทึกเวลา

เอาสาร 2 ไตเตรตให้ได้ถึงขีด 10 ML
แล้วก็เทลงบีกเกอร์ แล้วก็นำไปผสมกับสาร 1.1 จับเวลาจนกว่าจะเกิดการตกตะกอนแล้วบันทึกเวลา

เอาสาร 3 . 4 . 5 บลาฯฯฯ แล้วแต่ว่าจะเปรียบเทียบกี่สาร
แล้วนำเวลาทั้งหมดมาเปรียบเทียบ

สารที่มีความเข้มข้นมากสุดจะใช้เวลาได้น้อยที่สุด เพราะ อัตราการเกิดปฏิกิริยา แปรผกผัน เวลา
แล้วก็สรุปได้


แต่ข้อเสีย
ไม่แม่นในเรื่องการกดเวลา
ดูตะกอนที่ตกในแต่ละบีกเกอร์ไม่เหมือนกัน
ไตเตรตแล้วไม่ได้ 10 ML เป๊ะฯ
กระบอกฉีดยามีอากาศแทรก
การฉีดยาให้หมดหลอดใช้เวลาไม่เท่ากัน

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมีอ.วศวิศว์ 3

อาจารย์สอนเรื่องการเกิดพลังงาน
ตอนแรกอาจารย์จะให้เรานั่งคิดอีกว่า อะไรทำให้เกิดพลังงานในอะตอมได้
คำตอบคือ อุณหภมิ

อุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเลยว่าจะทำให้สารเกิดการคายหรือดูด
แล้วก็สอนวิธีดูกราฟว่าอันไหนเป็นดูดหรือเป็นคาย

ถ้ากราฟต่ำกว่าจุดเริ่มต้น ก็จะเป็นคายพลังงาน และ
ตอนไหลกลับจะเกิดช้า (ขึ้นภูเขายาก)

ถ้ากราฟสูงกว่าเริ่มต้น ก็จะเป็นดูดพลังงาน และ
ตอนไหลกลับจะเกิดเร็ว (ขึ้นภูเขาง่าย)

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมีอ.วศวิศว์ 2

วันนี้อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดเรื่อง Rate(อัตราการเกิดปฏิกิริยา)  ข้อเดียว
โดยอาจารย์จะให้เรานั่งรวมหัวกันคิดเองก่อนว่าจะทำอย่างไร
อาจารย์สอนสิ่งสำคัญที่สุดคือ โมล
และหาหาอัตราส่วนเพื่อใช้คำนวณให้ง่ายขึ้น
ดูตัวในหมดก่อนกันโดยเอา โมลที่หาได้มาหารด้วยอัตราส่วน(ที่ดูจากเลขดุลสมการในสารตั้งต้น)
ให้ดูหน่วยว่ามันถามอะไรแล้วค่อยหา