วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 23

การเขียนสูตรโมเลกุล
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ



1. สูตรโมเลกุล

 
 





2.สูตรแบบจุด / สูตรแบบเส้น


ฯลฯ

3.สูตรแบบย่อ






ฯลฯ
ประเภทของสารประกอบคาร์บอน
1.ใช้ลักษณะปฏิริยาเป็นเกณฑ์                            
1.1 Saturated Cpds  (อิ่มตัว -> ซิกม่า)                       
1.2 Unsaturated Cpds (ไม่อิ่มตัว -> อย่างน้อย 1Pi)     
2.ใช้โดยสร้างเป็นเกณฑ์                                            
2.1 Aliphatic Cpds โซ่เปิด (มีหัว กับ ท้าย)                  
2.1.1 Straight Chain แบบตรง                                               
2.1.2 Branched Chain แบบกิ่ง                                               
2.2 Alicyclic Cpds โซ่ปิด                                                      
3. Aromatic Cpds & Alicyclic Cpds                                        
ที่มีจำนวน อิเล็กตรอนPi = 4n + 2                                               
แล้ว n เป็นสมาชิกของ I บวก                                                        
ซึ่งเป็นกฎของ Huckle's Rule                                                           
4. Heterocyclic Cpds                                                                       
โซ่ปิดที่ไม่ได้ประกอบด้วย คาร์บอน ทั้งหมด                                      
เช่น                                                                                                        





Enantiomer - ต้องเป็นเงาก่อน





 <- รูปนี้เลยยยยย








Diastereomer (ไม่เป็นเงา)

















วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 22

การเขียนสูตรโครงสร้างสารประกอบอินทรีย์สูตรโครงสร้างของสารเป็นสูตรที่แสดงการจัดเรียงตัวของอะตอมโดยการเขียนสูตรนั้นอาจ
เขียนได้หลายแบบตัวอย่างเช่น สูตรโครงสร้างลิวอิสแบบจุด (dot structure) สูตรโครงสร้างลิวอิสdash แบบ
สูตรโครงสร้างแบบย่อ (condensed formula) และสูตรโครงสร้างแบบเส้นและมุม
(bond-line formula)

สูตรโมเลกุลและโครงสร้างสารประกอบบางชนิด





วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 21

เคมีอินทรีย์ (Organic chemistry)
เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยการศึกษา
โครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบของธาตุ คาร์บอน ซึ่งพบในธรรมชาติ และเป็นองค์ประกอบ
ของสิ่งมีชีวิต

           ในปี ค.ศ. 1828 เฟรดริช วูห์เลอร์ (Friedrich Woehler) สามารถสังเคราะห์สารประกอบ
ยูเรีย ได้เป็นผลสำเร็จโดยบังเอิญจากการระเหย สารละลายแอมโมเนียมไซยาเนต
(ammonium cyanate) NH4OCN

คุณสมบัติของสารอินทรีย์           
1.สารประกอบเคมีอินทรีย์เป็นสารประกอบที่เกิดจากการดึงดูดกันระหว่างอะตอมของธาตุต่างๆด้วยพันธะโคเวเลนต์
2.สารประกอบเคมีอินทรีย์จะหลอมเหลวหรือสะลายตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 300 °C 
3.ประกอบด้วยธาตุ C เป็นหลัก และธาตุอื่นๆเช่น H , N , O , S , Cl , Br

พันธะเคมี (Chemical Bonding)               
                   ทฤษฏีพันธะ (Chemical Bonding Theory)  เป็นการศึกษาสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีของสารอินทรีซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยพันธะ C ที่เกิดจากการใช้คู่อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) โดย C จะมีการจัดเรียงตัวของ e- ดังนี้ 1s2 2s2 2p2 ซึ่งจากการตัดเรียนตัวดังกล่าวจะพบว่า C มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 ตัวก็น่าจะสร้างได้เพียง 2 พันธะ แต่ในความเป็นจริง C กลับสร้างได้ถึง 4 พันธะ ทฤษฏีที่ใช้อธิบายหลังการดังกล่าวเรียกว่า ทฤษฏีพันธะเวเลนต์ (Valent Bond Theory)
                 ทฤษฏีพันธะเวเลนต์ (Valent Bond Theory)
เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการเกิดพันธะที่ซ้อนเหลื่อมกัน กล่าวคือ C ได้รับพลังงานในถ่ายเถ e- 1ตัวจากออร์บิทอล 2s ไปสู่ 2p (1s2 2s1 2px1 2py1 2pz1 ) เกิดการผสมกันของ e- ในออร์บิทอล 2s และ 2p จะเรียกการผสมแบบนี้ว่า    ไฮบริไดเซชัน (Hydridization)

ไฮบริไดเซชันของ C แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่                                        

1. ไฮบริไดเซชันแบบ sp3 เกิดจากการผสม e- ใน 2s จำนวน 1 ออร์บิทอล กับ 2px 2py 2pz จำนวน 3 ออร์บิทอล ได้เป็น 4 ออร์บิทอลใหม่ มีลังษณะโครงสร้างเป็นทรงสี่หน้า (Tetrahedral) โดยออร์บิทอลทั้ง 4 นี้จะสร้างพันธะเดี่ยวที่เรียกว่า พันธะซิกมา



2. ไฮบริไดเซชันแบบ sp2 เกิดจากการผสม e- ใน 2s จำนวน 1 ออร์บิทอล กับ 2px 2py  จำนวน 2 ออร์บิทอล ได้เป็น  3 ออร์บิทอลใหม่ มีลังษณะโครงสร้างเป็น ทรงสามเหลี่ยมแบนราบ (Trigonal Planar) และคงมี e- เหลื่ออยู่ใน 2pzซึ่งมีพลังงานสูงกว่า อีก 1 ออร์บริทอร์และสร้าง พันธะไพ (¶-bond)

                                      http://www.thaiblogonline.com/members/Goodfriend/fig1_25.gif


3.ไฮบริไดเซชันแบบ sp1 เกิดจากการผสม e- ใน 2s จำนวน 1 ออร์บิทอล กับ 2p จำนวน 1 ออร์บิทอล ได้เป็น  2 ออร์บิทอลใหม่ มีลังษณะโครงสร้างเป็นเส้นตรง (Linear) และคงมี e- เหลื่ออยู่ใน 2pzซึ่งมีพลังงานสูงกว่า อีก 2 ออร์บริทอร์และสร้าง พันธะไพ (¶-bond) ส่วนออร์บิทอลลูกผสมจะสร้าง
พันธะซิกมา






http://www.youtube.com/watch?v=JqldtDVrM4E

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 20

สารละลายบัฟเฟอร์
สารละลายบัฟเฟอร์  หมายถึง  สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบส         ของกรดนั้น  หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้น   จะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม   

สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
1)  สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน  (Acid buffer solution)        สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้มี pH < 7  เป็นกรด  เช่น
                                              กรดอ่อน  +  เกลือของกรดอ่อนนั้น
                                              CH3COOH  +  CH3COONa
                                              HCN  +  KCN
                                              H2S  +  Na2S 
                                              H2CO3  +  NaHCO3
 2)  สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน  (Basic buffer solution) 
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH  >  7  เป็นเบส  เช่น
                                                เบสอ่อน  +  เกลือของเบสอ่อนนั้น
                                                NH3  +  NH4Cl
                                                NH3  +  NH4NO3
                                         Fe(OH)2  +  FeCl2
                                         Fe(OH)3  +  FeCl3

วิธีการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่ ????
 1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่าง 1ตัว
 2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ
 
วิธีดูค่า PH ของสารละลาย Buffer

 1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7
 2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7

pHของ Buffer ใช้สูตร pH = -logKa + log [เกลือ]/[กรด]

pOHของ Buffer ใช้สูตร pOH = -logKb + log [เกลือ]/[เบส]


สารละลายบัฟเฟอร์จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อ [HA] = [A-]ซึ่งจะทำให้ [H+]จะเท่ากับ Ka ด้วยเหตุนี้จึงเลือกใช้บัฟเฟอร์ที่มีค่า pKaใกล้เคียงกับ pH ที่ต้องการเตรียม

เคมี อ.วศวิศว์ 19

ค่า PH แอนด์ POH
ค่า pH
เป็นตัวย่อที่มาจากภาษาละตินของคำว่า pondus hydrogenii (podus = pressure, hydrogenium = hydrogen แต่บางตำราคำว่า p หมายถึง power) ดังนั้นจึงเป็นการวัดการทำงานของโฮโดรเจนอิออนในสสารนั่นเอง ค่า pH ของสารละลายใด ๆ กำหนดได้จากลอกการิทึมลบ (ฐาน 10) ของความเข้มข้นไฮโดรเนียม ไอออน นั่นคือ
pH = -log[H+]   สมการที่ 1
หากสารละลายมีค่า pH มากกว่า จะมีค่า H3O+ (หรือ H+) ในสารละลายมากกว่านั่น
 pH+pOH = 14


ค่า pOH
เป็นการกำหนดความเป็นกรดด่างในรูปของ pOH scale ซึ่งกำหนดได้จากลอกการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์อิออน นั่นคือ
                                                             pOH = - log [OH-] สมการที่ 2
จาก 1+2 ;      pH+pOH = - log [OH-]+-log[H+]  
                      pH+pOH = - log [OH-][H+]
                      pH+pOH = - log Kw
                      pH+pOH = - log 1.0 x 10 14






เคมี อ.วศวิศว์ 18

อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด เบสของสารต่าง ๆ และสีของสารนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อค่าความเป็นกรด - เบสเปลี่ยนไป
อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบความเป็นกรด เบสของดินได้แก่

1. ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ เป็นตลับ ภายในมีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ และบนตลับจะมีแผ่นเทียบสีค่า pH ตั้งแต่ 1 ถึง 14
ดินเป็นกรด จะเปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์จากสีน้ำตาลเป็นสีแดงดินเป็นเบส จะเปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ จากสีน้ำตาบเป็นสีเขียวน้ำเงินดินเป็นกลาง จะไม่เปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลดิเคเตอร์

  • ถ้าติเตรตกรดแก่ เบสแก่ ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH = 7 (เลือกใช้ประมาณ 7 เพราะ จะได้เกลือกลาง)
  • ถ้าติเตรตกรดแก่ เบสอ่อน ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH < 7 (จะเกิดเกลือกรด)
  • ถ้าติเตรตกรดอ่อน เบสแก่ ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH > 7 (จะเกิดเกลือเบส)

เคมี อ.วศวิศว์ 17

การแตกตัวของกรดแก่ -เบสแก่กรดแก่และเบสแก่เป็นสารละลายที่แตกตัวในน้ำจนหมด สมดุลจะไปทางเดียว แต่ในขนาดที่
กรดอ่อน-เบสอ่อนจะแตกตัวได้ไม่หมด จะเกิดเป็นสภาวะสมดุลย้อนกลับได้

การแตกตัวของน้ำ น้ำเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่อ่อนมาก จึงทำให้แตกตัวได้น้อยมาก ดังนั้นการนำไฟฟ้าของน้ำจะน้อย จนไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการนำไฟฟ้าผ่านหลอดไฟ แต่ตรวจได้ด้วยเครื่องวัดกระแส (แอมมิเตอร์) ด้วยเหตุนี้จึงมีการอนุโลมให้น้ำบริสุทธิ์เป็นสารนอนอิเล็กโทรไลต์           ตามทฤษฎีของเบรินสเตต - ลาวรี กล่าวว่า น้ำ ทำหน้าที่เป็นทั้งกรดและเบส ไอออนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของน้ำนั้นจะมีการถ่ายเทโปรตอนกันเอง เรียกว่า ออโตไอออนไนเซชัน

โมเลกุลของน้ำที่เสีย H+ จะเปลี่ยนเป็น OH- ซึ่งมีประจุลบ และโมเลกุลของน้ำที่ได้รับ H+ จะเปลี่ยนเป็น H3O+ ซึ่งมีประจุบวก
เนื่องจากระบบนี้อยู่ในภาวะสมดุล เราจึงสามารถเขียนสมการค่าคงที่สมดุลของ H2O ได้ ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 16

นิยามของอาร์เรเนียส
กรดเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลท์ที่ละลายน้ำแล้วให้โปรตอน และเบสสารละลายให้อิเล็กโทรไลท์ที่ละลายน้ำแล้วให้ไฮดรอกไซด์

นิยามเบรินเสตด-ลาวรี
กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยวจากสารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยวแก่สารอื่น
สารที่เป็นคู่กรด-เบส คือ สารที่มี H+ต่างกัน1ตัวโดยที่คู่กรดจะมีH+มากกว่าคู่เบส1ตัว


นิยามลิวอิส
กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair acceptor) จากสารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว (electron pair donor) แก่สารอื่น
ทฤษฎีนี้ใช้อธิบาย กรด เบส ตาม concept ของ Arrhenius และ Bronsted-Lowry ได้ และมีข้อได้เปรียบคือสามารถอธิบาย กรด เบส ในกรณีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และได้สารประกอบที่มีพันธะโควาเลนซ์ เช่น
OH - (aq) + CO(aq) HCO3- (aq)
BF3 + NH3 BF3-NH3


วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 15

วันนี้ อ.ทำให้เรารู้จัก ปัญหา ของเด็ก Gifted มีมากมายแค่ไหน >.<
(โดนด่า TT)

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 14

Solution
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

Electrolyte solution
ซึ่งแบ่งเป็น 100% Dissociation และ Weak
กะ
Non-Electrolyte solution
(<100%)

และ อ.ก็ให้เราออกมาเขียน สิ่งที่เรามีความรุ้ถึงกรดเบสต่างฯนาฯ
ซึ่งยังเกิดความเข้าใจผิดอยู่มาก

เช่น กรด ละลายน้ำเป็น H+
และ เบส ละลายน้ำเป็น OH+ เสมอ
ซึ่งมันไม่เสมอไป  ฯลฯ

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 13

                                      A <-> B + C
[ส]#1                             1         2     3
ถ้าเติม [C] หรือ [B]      (ไปรบกวนสาร ให้สารเกิดสมดุลคลาดเคลื่อน)
[ร]#2                              1         2     3
[ป]#2                            +x        -x   -x
[ส]#2                           1+x     2-x 3-x

ถ้าเติม [A]                       
[ร]#2                              1         2     3
[ป]#2                             -x       +x   +x
[ส]#2                            1-x      2+x 3+x
การที่ทำอย่างงี้ มีประโยชน์ในแหล่งอุตสาหกรรม
ทุกโรงงานจะต้องผลิตสิ่งของ โดยใช้หลักสมดุลเสมอ
มิฉะนั้นจะเกิดความล่าช้าในการได้ผลผลิต จากที่ปฏิกิริยาสมดุลแล้ว
ดังนั้นเราก็ไปทำให้มันคลาดเคลื่อน โดยเอาผลผลิตทันทีเพื่อให้สมดุลเคลื่อน แล้วเราก็เติมสารตั้งต้นไปเรื่อยฯ จึงทำให้มาเข้าสมดุลอีกที และ เราก็เอาผลผลิตอีก ไปเรื่อยฯทำวนไป ซึ่งเกิดความรวดเร็วในการได้ผลผลิตด้วย

ถ้าเราเพิ่มสารผั่งขวา สมดุลก็จะไปฝั่งซ้าย 
แต่ถ้าเพิ่มฝั่งซ้าย สมดุลก็จะไปฝั่งขวา
ถ้าเราลดสารฝั่งขวา สมดุลก็จะไปฝั่งขวา
แต่ถ้าลดฝั่งซ้าย สมดุลก็จะไปฝั่งซ้าย

กรณีดูด/คายความร้อน
ดูดความร้อน
1. เพิ่มอุณหภูมิ k มากขึ้น สมดุลไปข้างหน้า
2.ลดอุณหภูมิ k น้อยลง สมดุลย้อนกลับ
คายความร้อน
1.เพิ่มอุณหภูมิ k น้อยลง สมดุลย้อนกลับ
2.ลดอุณหภูมิ k มากขึ้น สมดุลไปข้างหน้า

แต่ ถ้าเป็นกรณีที่สถานะเป็นแก๊ส
เพิ่ม P : โมลมาก -> โมลน้อย
ลด   P : โมลน้อย -> โมลมาก

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 12

วันนี้อ. จะให้คนที่เหลื่อที่ยังไม่ได้ Present หน้าห้อง ออกมา Present ให้หมด ยกเว้น ดรีม ปิ แกป ที่ไปแข่งวิทยสัประยุทธ์ 

หลักเลอชาเตอลิเย
ก็ใน เคมี.อ.วศวิศว์ 11 ได้พูดถึงทฤษฎีเลอชาเตอลิเย
แต่ในทางปฏิบัติ

1.เมื่อเติมสารตั้งต้น หรือ ผลิตภัณฑ์ ในสภาวะสมดุล ระบบก็จะปรับตัวให้
เกิดปฏิกิริยา ตรงกันข้ามกับสารที่เติมไป เพื่อลดปริมาณสารที่เติมลงไปให้น้อยลง จนเข้าสู่สภาวะสมดุลอีกครั้ง

2. เมื่อลดปริมาณสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์ ในสภาวะสมดุล ระบบก็จะปรับตัวให้
เกิดปฏิกิริยา ในทิศทางเดียวกับสารที่เติมไป เพื่อเพิ่มปริมาณของสารที่ลดไป จนเข้าสู่สภาวะสมดุลอีกครั้ง

เคมี อ.วศวิศว์ 11

วันนี้ อ.ให้เราทำโจทย์สมดุลแล้วออกไปโชว์หน้ากระดาน
โดย วันนี้ได้ออกไปโชว์ไม่กี่คน (คนสุดท้ายพงศกรมั่ง)

อ.ให้ผมทำข้อ 9. มั่ง ถ้าจำได้
จะต้องใช่ [เริ่มต้น] [เปลี่ยนแปลง] [สมดุล]
แล้วค่อยใช่สูตร K=[A][B]... หาร [1][2].......
จึงได้ทันที :P

หลักของเลอชาเตอริเย
คือ เมื่อสมดุลแล้ว จะมีปัจจับต่างฯในสิ่งแวดล้อมรอบตัว มารบกวน ให้สภาวะสมดุลเสียไป
แต่ระบบนั้นก็ได้ปรับตัวในทิศทางที่จะทำให้ปัจจัยที่มารบกวนลดลง จน เหลือน้อยที่สุด
แล้วระบบก็จะเข้าสู่สมดุลอีกครั้ง

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 10

วันนี้อ.ให้สอนปฏิกิริยาสมดุล โดยใช้
เริ่ม เปลี่ยน สมดุล

อย่างเช่น a + 2b <=> 3d + e
การทำมีใช้เหลือ ต้องเป็นความเข้มข้นของสารนั้น และต้องทำให้เป็น mol/ลิตร

เริ่ม คือ เอาความเข้มข้นของสารตั้งต้น เป็นตัวตั้งของแต่ละตัว สารผลิตภัณฑ์เป็น 0
เพราะยังไม่เกิดปฏิกิริยา

เปลี่ยน คือ ช่วงที่สารเปลี่ยน สมมติ เรารู้เปลี่ยนของสาร a กลุ่มของสาร b ก็ต้อง คูณ 2a เพราะมี 2 โมล
และสาร d  ก็ต้องคูณ 3a  และ e ก็เปลี่ยน = a เลย และต้องดูด้วยว่า สมการมันไปข้างหน้าหรือย้อนกลับ
ถ้าไปข้างหน้า พวกกลุ่มสารตั้งต้น(ฝั่งขวา)ต้องติดลบ พวกกลุ่มสารผลิตภัณฑ์(ฝั่งซ้าย)ติดบวกน่ะ
แต่ถ้าย้อนกลับ พวกกลุ่มสาร(ฝั่งขวา)จะติดบวก พวกกลุ่มสาร(ฝั่งซ้าย)จะติดลย

สมดุล คือ ช่วงที่สารเกิดสภาวะสมดุลแล้ว (ซึ่งเกิดจากการบวกลบกัน ของ เริ่ม และ เปลี่ยน)


แล้วก็ดูโจทย์ว่ามันถามอะไร k หรือ % หรือ อะไรก็บลาบลาบลา

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 9

เรียนเรื่อง Kp = Kc(Rเดต้าt)ยกกำลังn
ซึ่ง n = (ผลรวมของโมลสารผลิตภัณฑ์ - ผลรวมของสารตั้งต้น)

aA + bB <=> cC + dD
K = (C)ยกc X (D)ยกd หาร ((A)ยกa หาร (B)ยกb)

(จะเขียนไงต่อดี
หมดอารมณ์เขียน เพราะฟิสิกส์TT)

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 8

ระบบ          มวล       พลังงาน
เปิด             Yes           Yes
ปิด               No           Yes
แยกตัว         No           No
(เอกเทศ)

Rateไปข้างหน้า = Rate ย้อนกลับน่ะ
(ถึงจะสมดุล)

กราฟ ตอนที่เขียน ช่วงที่ unstable สารตั้งต้น กับ ผลผลิต ต้องลงหรือขึ้น ทีละเท่ากันฯ

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 7

วันนี้อาจารย์ก็ให้เราทำแบบฝึกหัดเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยา ข้อ 13-14 (ทำ12-13แทน อิอิ)

กลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้พวกเราทำแลป เปรียบเทียบสารที่มีคะตาลิส กะ ไม่มีคะตะลิส ว่าอันไหนทำปฏิกิริยาเร็วกว่ากัน

ก็เอา สาร 1 ใส่ไป 2 ML และ สาร 2 ใส่ไป 1 ML ทั้งสองหลอด
(หลอดหยดสาร 10 หยด เท่ากับ 1 ML)
แล้วเอาหลอดที่ 1 ไปใส่กับสารที่ทำปฏิกิริยา แล้วจับเวลา (ต้องเขย่าด้วยเพื่อกระตุ้นให้เกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

หลอดที่ 2ทำเหมือนหลอดที่ 1แล้วใส่คะตาลิสเพิ่มอีก 5 หยด แล้วจับเวลา (เขย่าเช่นกัน)

จะเห็นผลว่า คะตะลิสมีผลในการช่วยทำปฏิกิริยาให้เกิดเร็วขึ้น


ผมเผลอเอา คะตะลิส ผสมกับ สารที่ทำปฏิกิริยาก่อน จึงกลายเป็นสีส้ม (มันทำไปแล้ว =*=)
แล้วค่อยไปเทลงในหลอด 2  =*=

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 6

อ.สอนเคมีตามกฎของ GuldBerg และ Waage

วิธีการทำ มันจะให้ตารางมา แล้ว สมการมา
ให้ดูสมการทันทีเลยว่าดุลยัง

ตารางที่ให้มาจะเป็นผลการทดลงอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ทดลองหลายครั้งแล้วเราต้องนำมาคำนวณ
R=(a)กำลังเลขดุลสมการข้างหน้าของสาร......

สังเกตุ อัตราการเริ่มต้นของการเกิดให้ดูเลขดุลข้างหน้า
a + b -> d + 3D
ถ้าเป็น d ก็ไม่ต้องทำอะไรใช้ที่เขากำหนดได้เลย แต่ถ้าเป็น 3D ต้องเอาไปหาร 3 ก่อน ถึงจะใช้ได้

ดูตารางแล้วเอามาแก้ระบบสมการ โดยเอาการทดลอง 1 เป็น 1สมการ กับอีกการทดลอง อีกสมการ
จากสูตร R (ที่กล่าวไป) แล้วนำมาแก้หาในสิ่งที่โจทย์ถาม

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมี อ.วศวิศว์ 5

วันนี้โดนอาจารย์เทศนา


-ขี้เกียจเป็นปัจจัยหลักประจำ Gifted 160
-ความแตกต่างระหว่างการศึกษาธรรมดา และ การศึกษาแบบGifted


และ

ก็ทวนเรื่องการทดลองที่ผ่านมา(เคมี อ.วศวิศว์ 4)ว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วก็เอาเรื่องเก่าฯมาเชื่อมโยงกับการทดลองด้วย

เคมี อ.วศวิศว์ 4

วันนี้อาจารย์ให้ทำการทดลองว่า จะดูว่าสารในมีความเข้มข้นมากกว่ากัน
โดยอาจารย์ให้ไตเตรตสาร HCL NaSo4
และ
ให้เอาสารที่อาจารย์เตรียมให้ 4 อย่างโดยเราไม่รุ้ว่าอันไหนความเข้มข้นเยอะสุด

วิธีก็เอาสาร 1 ไตเตรตให้ได้ถึงขีด 10 ML
แล้วก็เทลงบีกเกอร์ แล้วก็นำไปผสมกับสาร 1.1 จับเวลาจนกว่าจะเกิดการตกตะกอนแล้วบันทึกเวลา

เอาสาร 2 ไตเตรตให้ได้ถึงขีด 10 ML
แล้วก็เทลงบีกเกอร์ แล้วก็นำไปผสมกับสาร 1.1 จับเวลาจนกว่าจะเกิดการตกตะกอนแล้วบันทึกเวลา

เอาสาร 3 . 4 . 5 บลาฯฯฯ แล้วแต่ว่าจะเปรียบเทียบกี่สาร
แล้วนำเวลาทั้งหมดมาเปรียบเทียบ

สารที่มีความเข้มข้นมากสุดจะใช้เวลาได้น้อยที่สุด เพราะ อัตราการเกิดปฏิกิริยา แปรผกผัน เวลา
แล้วก็สรุปได้


แต่ข้อเสีย
ไม่แม่นในเรื่องการกดเวลา
ดูตะกอนที่ตกในแต่ละบีกเกอร์ไม่เหมือนกัน
ไตเตรตแล้วไม่ได้ 10 ML เป๊ะฯ
กระบอกฉีดยามีอากาศแทรก
การฉีดยาให้หมดหลอดใช้เวลาไม่เท่ากัน

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมีอ.วศวิศว์ 3

อาจารย์สอนเรื่องการเกิดพลังงาน
ตอนแรกอาจารย์จะให้เรานั่งคิดอีกว่า อะไรทำให้เกิดพลังงานในอะตอมได้
คำตอบคือ อุณหภมิ

อุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเลยว่าจะทำให้สารเกิดการคายหรือดูด
แล้วก็สอนวิธีดูกราฟว่าอันไหนเป็นดูดหรือเป็นคาย

ถ้ากราฟต่ำกว่าจุดเริ่มต้น ก็จะเป็นคายพลังงาน และ
ตอนไหลกลับจะเกิดช้า (ขึ้นภูเขายาก)

ถ้ากราฟสูงกว่าเริ่มต้น ก็จะเป็นดูดพลังงาน และ
ตอนไหลกลับจะเกิดเร็ว (ขึ้นภูเขาง่าย)

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคมีอ.วศวิศว์ 2

วันนี้อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดเรื่อง Rate(อัตราการเกิดปฏิกิริยา)  ข้อเดียว
โดยอาจารย์จะให้เรานั่งรวมหัวกันคิดเองก่อนว่าจะทำอย่างไร
อาจารย์สอนสิ่งสำคัญที่สุดคือ โมล
และหาหาอัตราส่วนเพื่อใช้คำนวณให้ง่ายขึ้น
ดูตัวในหมดก่อนกันโดยเอา โมลที่หาได้มาหารด้วยอัตราส่วน(ที่ดูจากเลขดุลสมการในสารตั้งต้น)
ให้ดูหน่วยว่ามันถามอะไรแล้วค่อยหา

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เคมีอ.วศวิศว์ 1

ก็วันแรก อาจารย์ก็ให้พวกเราทำความรู้จักกับ การเกิดปฏิกิริยา ว่าเป็นอย่างไรและให้คิดต่อยอดว่า จะทำอย่างไรให้เกิดปฏิกิริยาบ้าง เช่น การที่เอาสีเหลี่ยมก้อนนึง และ การเอาสี่เหลี่ยมก้อนนึง มาหั่นซอยย่อยให้เล็กลง จะเกิดอัตราต่างกันอย่างไร (คำตอบก็คือ โอกาสที่เกิดการสัมผัส) , การเพิ่มอุณหภูมิ กับ ไม่เพิ่มอุณหภูมิ ทำไมการเพิ่มอุณหภูมิ เพราะการเพิ่มอุณหภูมิเป็นการกระตุ้นให้โมเลกุลหรืออตอมภายในสสารเกิดการเคลื่อนที่ชนกัน ซึ่งทำให้เกิด "โอกาสที่เกิดการสัมผัส" มากขึ้น ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าเนื้อหามี่อาจารย์สอนในครั้งที่ 1 จะให้เราคิดก่อนที่จะสอน เพื่อเป็นการฝึกให้เราคิดและวิเคราะห์ให้ดีขึ้น และ เป็นการฝึกให้เรากล้าคิดกล้าทำมากขึ้น

ดังนั้น การเรียนเคมีครั้งที่ 1 กับอ.วศวิศว์ ผมขอบคุณอาจารย์มากครับ

http://sketch.odopod.com/sketches/368795/edit