วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

เคมี อ.วศวิศว์ 24

ปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์

ปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอินทรีย์
 เรียก A, B ว่า สารตั้งต้น (starting material) และ
        C, D ว่าสารผลิตภัณฑ์ (product)
   ในปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ บางครั้งจะเรียกสารตั้งต้นตัวหนึ่งว่า reactant หรือsubstrate และเรียก
     สารที่เข้าทำปฏิกิริยาว่า reagent

    ส่วนใหญ่ reagent มักเป็นสารประกอบอนินทรีย์หรือสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลเล็ก 
   ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์จะมีการแตกพันธะซึ่งอาจเป็น 1 พันธะหรือมากกว่า 
     และมีการสร้างพันธะใหม่ 1 พันธะหรือมากกว่า
    ปฏิกิริยาอาจเกิดขั้นตอนเดียวหรือหลายขั้นตอน
  การแสดงรายละเอียดของขั้นตอนต่าง ๆ ของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เรียกว่า กลไกของปฏิกิริยา (reaction mechanism)

การแตกพันธะของสารประกอบอินทรีย์ 

อาจเกิดได้ 2 แบบ
1.  แบบโฮโมไลติก (homolytic cleavage) เป็นการแตกพันธะอย่างสมมาตร กล่าวคือ เมื่อแตกพันธะแต่ละอะตอมจะเอาอิเล็กตรอนไปอะตอมละ1 อิเล็กตรอน ปฏิกิริยาที่มีการแตกพันธะ                 แบบโฮโมไลติก เรียกว่า ปฏิกิริยาแบบอนุภาคหรืออนุมูลอิสระ (radical or free-radical reaction)
2. แบบเฮเทอโรไลติก (heterolytic cleavage) เป็นการแตกพันธะที่อะตอมหนึ่งเอาอิเล็กตรอนไป 2     
          อิเล็กตรอน และอีกอะตอมหนึ่งไม่มีอิเล็กตรอนเลย ทำให้อะตอมหนึ่งมีประจุบวก อีกอะตอมหนึ่ง
          ที่มีประจุลบ ปฏิกิริยาที่มีการแตกพันธะแบบเฮเทอโรไลติก  เรียกว่า ปฏิกิริยาแบบไอออนิก 
          (ionic reaction)
  สารมัธยันตร์
1.   1. คาร์โบเคตอิออน (carbocation) หรือ คาร์โบเนียมอิออน (carbonium ion)  ใช้ sp2 ไฮบริดออร์บิตัล
    เสถียรภาพของคาร์โบเคตอิออน (carbocation)


2.  คาร์แบนอิออน (carbanion) เป็นคาร์บอนที่มีประจุลบ มีอิเล็กตรอนวงนอก 8 อิเล็กตรอน  
     คาร์แบนอิ  ออน  ใช้ sp3 ไฮบริดออร์บิตัล
     เสถียรภาพของคาร์แบนอิออน  จะตรงข้ามกับคาร์โบแคตอิออน
3.เรดิคัลอิสระ (free radical) เป็นคาร์บอนที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว ไม่มีประจุ มีอิเล็กตรอนวงนอก 7   อิเล็กตรอน  คาร์บอนที่เป็นเรดิคัลอิสระ  ใช้ sp2  ไฮบริดออร์บิตัล
1.               เสถียรภาพของเรดิคัลอิสระ
    4. คาร์บีน (carbene) เป็นสารมัธยันตร์ของคาร์บอนที่มีเพียง 2 พันธะ มีอิเล็กตรอนวงนอก 6  
        อิเล็กตรอน คาร์บีนมี 2 ชนิด

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น